• บริษัท นานมี จำกัด
  • โรงเรียนสอนภาษานานมี
  • สำนักพิมพ์ ทองเกษม
  • ร้านหนังสือจีนนานมี
Thongkasem Publishing
  • HOME
  • ABOUT
    THONGKASEM
  • NEWS&
    PROMOTIONS
  • CATALOG
  • BOOKS STORE
  • E-BOOKS
  • KNOWLEDGE
  • MEMBER
    AREA

    Member Login

    Username
    Password
      
     สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

ห้องความรู้

วันที่ 09 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความหมายของบัตรประชาชน

                บัตรประชาชน คือ เอกสารที่ใช้พิสูจน์เอกลักษณ์ของบุคคล รูปแบบของบัตรประชาชนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในยุคที่ 2 ได้ใช้ฟิล์มและเทคโนโลยีการพิมพ์เพื่อรักษาความปลอดภัย ภายในบัตรมีตัวเลขชิปเพื่อมาตรการรักษาข้อมูลภายในบัตรมีรูปถ่ายและข้อมูลเฉพาะบุคคล สามารถใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เฉพาะอ่านข้อมูลได้

                บัตรประชาชนที่เก่าแก่ที่สุดเริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง ราชสำนักได้ส่งแผ่นบันทึกชนิดหนึ่งที่เหมือนบัตรประชาชนให้แก่บรรดาข้าราชการ นั่นคือ หยูฝู คือแผ่นบันทึกข้อมูลประชาชนที่ทำจากเหล็กหรือไม้ที่แกะเป็นรูปปลา  แผ่นหยูฝูนี้ถูกยกเลิกไป แต่ยังคงพกพาหยูได้ (เข็มขัดที่แสดงถึงฐานะของบุคคล) จนถึงสมัยราชวงศ์หมิงจึงเปลี่ยนมาใช่ หยาผาย (แผ่นไม้รูปทรงโค้ง) จนถึงสมัยราชวงศ์ชิงที่ดูฐานะของบุคคลที่ปลายหมวก จนกระทั่งถึงปีคริสต์ศักราช 1936 รัฐบาลท้องถิ่นเมืองหนิงเซี่ยได้กำหนด “ระบบเอกสารพลเมือง” ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของบัตรประชาชนในยุคปัจจุบัน

                บัตรประชาชนของไทยประกอบไปด้วยเลข 13 หลัก ซึ่งแต่ละหลักมีความหมายเพื่อเป็นการแบ่งประชาชนให้ชัดเจน

-          หลักที่ 1  หมายถึง ประเภทบุคคล มีทั้งหมด 8 ประเภท

  • ประเภทที่ 1 คือ เด็กที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2527
  • ประเภทที่ 2 เด็กประเภทที่ 1 ที่แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลาภายใน 15 วัน หลังวันเกิด
  • ประเภทที่ 3 คือ คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527
  • ประเภทที่ 4 คือ คนไทยหรือคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว แต่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านก่อนวันที่ 31 พฤษภาคม 2527
  • ประเภทที่ 5 คือ คนที่ได้รับอนุมัติให้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกรณีตกสำรวจ
  • ประเภทที่ 6 คือ คนที่มาอาศัยอยู่ในไทยแต่ไม่ได้มีสัญชาติไทย เช่น ชาวเขาหรือชาวต่างชาติที่มาอยู่ชั่วคราว
  • ประเภทที่ 7 คือ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ที่เกิดในไทย
  • ประเภทที่ 8 คือ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองอย่างถูกต้องตามกฏหมาย ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือได้รับการแปลงเป็นสัญชาติไทย

บุคคลประเภทที่ 6 7 และ 8 จะมีแค่ทะเบียนประวัติเล่มสีเหลือง ไม่มีการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้

-          หลักที่ 2-3 หมายถึง จังหวัดที่อยู่

-          หลักที่ 4-5 หมายถึง เขตหรืออำเภอในจังหวัดนั้นๆ

-          หลักที่ 6-10 หมายถึง เลขประจำตัวในทะเบียนบ้านที่แต่ละเขตหรืออำเภอออกให้

-          หลักที่ 11-12 หมายถึง ลำดับที่ของบุคคลที่จัดลำดับว่าเป็นคนที่เท่าไรในกลุ่มของบุคคลประเภทนั้นๆ

-          หลักที่ 13 เป็นตัวเลขตรวจสอบความถูกต้องของเลขทั้ง 12 ตัวแรก

ที่มา ... หนังสือ "อ๋อ! อย่างนี้นี่เอง ฉบับ เรียนคณิตฯสุดหินให้เข้าหัว"

สำนักพิมพ์ทองเกษม

เขียนเมื่อวันที่ เวลา 11:23:23 อ่านบทความนี้

ป้ายกำกับ ความรู้ทั่วไป
  • หน้าแรก
  • |
  • เกี่ย่วกับสำนักพิมพ์
  • |
  • ข่าวสาร & โปรโมชั่น
  • |
  • หนังสือ
  • |
  • หนังสือขายดี
  • |
  • หนังสือใหม่
  • |
  • สมาชิก
  • |
  • นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
©2012-2021 สำนักพิมพ์ ทองเกษม. All right reserved.
Power by NAN MEE Co., Ltd.
ที่อยู่สำนักพิมพ์ ติดต่อเรา
สำนักพิมพ์ ทองเกษม
เลขที่ 146 ถนนสาทรเหนือ
แขวงสีลม เขตบางรัก
กรุงเทพมหานคร 10500

E-Mail

 editor@thongkasem.com

Telephone

 0 2648 8000

Facebook

 www.facebook.com/thongkasem

Twitter

 @Thongkasem_team